การวิจัยและอาชีพ ของ แจ็ก ดองการ์รา

ดองการ์ราทำงานที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติอาร์กอนน์จนถึงปี ค.ศ. 1989 กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ เขาเชี่ยวชาญในอัลกอริธึมเชิงจำนวน ในพีชคณิตเชิงเส้น การคำนวณคู่ขนาน การใช้สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง หลักการเขียนโปรแกรม และเครื่องมือสำหรับเครื่องคณิตกรณ์แบบขนาน งานวิจัยของเขายังเกี่ยวกับการพัฒนา การทดสอบ และการจัดทำเอกสารซอฟต์แวร์ทางคณิตศาสตร์คุณภาพสูง เขามีส่วนในการออกแบบและการประยุกต์ใช้งานแพ็กเกจซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ อาทิ EISPACK, ลินแพ็ก, พีชคณิตเชิงเส้นพืั้นฐานโปรแกรมย่อย (BLAS) แพ็กเกจพีชคณิตเชิงเส้น (LAPACK), ScaLAPACK, เครื่องจักรคู่ขนานเสมือน (PVM), อินเทอร์เฟซส่งผ่านข้อความ (MPI), [3] เน็ตโซลฟ์, TOP500, ซอฟต์แวร์พีชคณิตเชิงเส้นปรับอัตโนมัติ (ATLAS), ไฮเพอร์ฟอร์มานซ์คอนจังชันเกรเดียน (HPCG) [13] [14] และ อินเทอร์เฟซประสิทธิภาพการโปรแกรมแอปพลิเคชัน (PAPI) ไลบรารีเหล่านี้มีความแม่นยำในด้านอัลกอริธึมเชิงตัวเลขพื้นฐาน ตลอดจนความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ [15] พวกเขาให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้ในวงกว้างมากผ่านการรวมเข้ากับซอฟต์แวร์ ได้แก่ แม็ตแลบ, เมเพิล, วุลแฟรมแมทเทแมทิคา, กนูอ็อกเตฟ, ภาษาอาร์, ไซไพ และอื่นๆ [15]

เขา ร่วมกับอิริก กรอซซ์เป็นผู้บุกเบิกการเผยแพร่รหัสโอเพนซอร์ซเชิงตัวเลขผ่านทางอีเมลและเว็บซึ่งรวบรวมไว้ในเน็ตลิบ เขาได้ตีพิมพ์บทความ เอกสาร รายงาน และบันทึกเชิงเทคนิคราว 300 เล่ม และเป็นผู้เขียนร่วมของหนังสือหลายเล่ม เขาร่วมงานกับห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊กริดจ์ และมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ซึ่งเขาทำหน้าที่เป็นสมาชิกทัวริง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 [16] [17]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แจ็ก ดองการ์รา https://doi.org/10.1109%2FFMPC.1992.234898 https://api.semanticscholar.org/CorpusID:15496519 https://netlib.org/scalapack/ https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=... https://doi.org/10.1007%2F978-3-540-30218-6_19 http://icl.cs.utk.edu/netsolve https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=... https://doi.org/10.1016%2FS0167-8191(00)00087-9 http://icl.cs.utk.edu/papi https://royalsociety.org/people/jack-dongarra-1408...